สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้

การอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะและเทคนิคการเขียนรายงานการประเมินและการดำเนินการยื่นขอรับการประเมินสมรรถนะอาจารย์ ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Thailand Professional standards Framework (Thailand - PSF)

       สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะและเทคนิคการเขียนรายงานการประเมินและการดำเนินการยื่นขอรับการประเมินสมรรถนะอาจารย์ ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Thailand Professional standards Framework (Thailand - PSF)” โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ โดยมี ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วย รศ.ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคุณภาพบัณฑิต อาจารย์ ดร.ลัลน์ลลิต สืบประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้ และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 130 คน เข้าร่วมการอบรมฯ ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ชนัตถ์ พูนเดช ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และรศ.ดร.ธนิตา เลิศพรกุลรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คณาจารย์ระดับหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตจากสมรรถนะจัดการเรียนรู้ของอาจารย์มืออาชีพ

       อาจารย์ ดร.ลัลน์ลลิต สืบประดิษฐ์ กล่าวว่า บทบาทของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากคณาจารย์เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันพันธกิจของมหาวิทยาลัยไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยการสนับสนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำคู่มือขอรับการประเมินสมรรถนะอาจารย์ซึ่งได้กำหนดแนวทาง ขั้นตอน และการเตรียมตัวของอาจารย์เพื่อเข้ารับการประเมินไว้ โดยพบว่ากรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) ได้กำหนดคุณภาพอาจารย์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1. ความรู้ (Knowledge) มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน (2) ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ 2. สมรรถนะ (Competencies) มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล (3) เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน (4) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ 3. ค่านิยม (Values) มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (2) ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ โดยคุณภาพอาจารย์ในแต่ละองค์ประกอบนั้น มีระดับคุณภาพ 4 ระดับ ในแต่ละด้านตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) มีดังนี้ ระดับที่ 1 ครูที่มีคุณภาพ ระดับที่ 2 ครูที่เกื้อกูลเพื่อนร่วมวิชาชีพให้เป็นครูที่มีคุณภาพ ระดับที่ 3 ครูที่สร้างครูที่มีคุณภาพในองค์กร และระดับที่ 4 ครูที่เป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาชีพครูในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการยื่นขอรับการประเมินตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) ของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อส่งเสริมและผลักดันการยื่นขอรับการประเมินตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) ของบุคลากรสายวิชาการในในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

       อีกทั้งได้รับเกียรติจากท่าน ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวพบปะผู้เข้าร่วมอบรมฯ ให้กำลังใจเกี่ยวกับการยื่นขอรับการประเมินตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Professional Standards Framework (PSF) ของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และกล่าวปิดกิจกรรมในครั้งนี้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมริมหาด 2 โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

แกลเลอรี่