วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แนะนำโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
ทบทวนและกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมในโครงการ SMP-YRU
(10 ก.พ. 58) 
โครงการการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา หรือโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่บริการการศึกษา เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน ในลักษณะงบบูรณาการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และเป็นโครงการสำคัญ (Flagship Project) ที่เห็นชอบจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ให้มหาวิทยาลัยฯ ในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินงานโครงการ SMP เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งด้านเทคโนโลยี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
     โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้  หรือโครงการ SMP-YRU มีเป้าหมายสำคัญ คือ การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นี่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (เขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี เป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์)
ซึ่งการดำเนินงานโครงการ SMP จะเริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ร่วมกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่
  1. โรงเรียนสุทธิศาสตร์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา
  2. โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา 
  3. โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 
  4. โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน 
  5. โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง 
  6. โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ปะแต อ.ยะหา
   สำหรับกิจกรรมสำคัญในโครงการ SMP-YRU ประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ ได้แก่

1. บริหารจัดการโครงการและติดตามประเมินผล
2. พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนอาจารย์นิเทศก์และผู้บริหารโครงการ
3. พัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต้นแบบส่งเสริมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน (มรย.)
4. พัฒนาห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ต้นแบบส่งเสริม การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน (มรย.)
5. พัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย
6. พัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนเครือข่าย
7. จัดการเรียนการสอนเสริมพิเศษในพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายและที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
8. ศึกษาดูงานและจัดค่ายวิทยาศาสตร์เเสริมสร้างเจตคติและทักษะทางวิทยาศาสตร์
9. ค่ายไอซีทีเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
10. English Camp เสริมสร้างภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร



     ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น มีเป้าหมายสำคัญทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ดังนี้
- เชิงปริมาณ

1) พัฒนาห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนากลุ่มเป้าหมายในจังหวัดยะลา จำนวน 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ห้อง

2) พัฒนาห้องปฏิบัติการมาตรฐานต้นแบบ สำหรับใช้ร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 ห้องเรียน ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

3) มีจำนวนนักเรียนห้องเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนไม่น้อยกว่า 208 คน จาก 6 โรงเรียนเป้าหมาย (ร้อยละ 80 จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 260 คน)

4) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักเรียนในโครงการด้านเจตคติ ความรู้และประสบการณ์ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา

5) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในโครงการ SMP ในแต่ละโรงเรียนได้รับการพัฒนาตนเองด้านทักษะการสอนและทักษะที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อปีการศึกษา

- เชิงคุณภาพ

1) ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้น สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียน SMP

2) นักเรียนที่เรียนในโครงการห้องเรียน SMP มีคะแนนเฉลี่ยในวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีหรือพอใช้ และมีคะแนนเฉลี่ยในทุกวิชาในหลักสูตรอยู่ในระดับดีหรือพอใช้

3) นักเรียนที่เรียนในโครงการห้องเรียน SMP มีคุณลักษณะและพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร กระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ มีวินัย และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนในโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคิดเชิงบวก

4) ครูผู้สอนและบุคลากรในโครงการห้องเรียน SMP มีความรู้และทักษะพิเศษในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ (ระดับผลผลิต ระดับผลิตลัพธ์ และระดับผลกระทบ)

- ตัวชี้วัดผลผลิต

1) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบวิชาสามัญกลุ่มเป้าหมาย มีห้องเรียนพิเศษเน้นการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือห้องเรียน SMP เกิดขึ้น ไม่น้อยกว่า 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ห้อง

2) มีจำนวนนักเรียนห้องเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนไม่น้อยกว่า 208 คน จาก 6 โรงเรียนเป้าหมาย (ร้อยละ 80 จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 260 คน)

3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโครงการ SMP ในแต่ละโรงเรียนได้รับการพัฒนาตนเองด้านทักษะการสอนและทักษะที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อปีการศึกษา

4) มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต้นแบบ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนห้องเรียน SMP และการทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน จำนวน 1 ห้อง ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

5) มีห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ต้นแบบ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนห้องเรียน SMP และการทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน จำนวน 1 ห้อง ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

- ตัวชี้วัดผลลัพธ์

1) นักเรียนโครงการห้องเรียน SMP จำนวนร้อยละ 80 มีเกรดเฉลี่ยในทุกรายวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.50

2) ร้อยละความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียน SMP มี

3) ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4) ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (ปีการศึกษา 2561) นักเรียนในโครงการห้องเรียน SMP ร้อยละ 80 สามารถสอบเข้าศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นและระดับชาติได้ หรือศึกษาต่อในสาขาที่ต้องใช้วิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สอบเข้า

- ตัวชี้วัดผลกระทบ

1) นักเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา ให้ความสนใจและสมัครเข้าเรียนในโครงการห้องเรียน SMP เพิ่มขึ้น หลังจากจัดให้มีโครงการห้องเรียน SMP ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย

2) มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบสายสามัญในพื้นที่ ให้ความสนใจและแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการพัฒนาห้องเรียน SMP มากขึ้น

3) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีบทบาทในฐานะเป็นที่พึ่งชุมชนด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ชัดเจนและมีภาพลักษณ์ในการสนับสนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจเรียนต่อในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรของมหาวิทยาลัยฯ เพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น