สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้

สถาบันพัฒนาครูฯ จัดกิจกรรม เสวนาเชิงปฏิบัติการในการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและแหล่งเรียนรู้จากชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้

       เมื่อวันที่ 4  กันยายน 2565  สถาบันพัฒนาครูฯ จัดกิจกรรม เสวนาเชิงปฏิบัติการในการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและแหล่งเรียนรู้จากชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : การพัฒนาระบบและกลไกจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการชุมชนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดยะลา โดยมี ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดแทนรักษาราชการการแทนอธิการบดี ได้รับเกียรติจาก ผศ.อุไรรัตน์  ยามาเร็ง  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา บรรยายพิเศษหลักสูตรระยะสั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สู่การพัฒนาระบบคลังหน่วยกิต และนายซาหดัม  แวยูโซะ  เจ้าหน้าที่งานหลักสูตร สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) บรรยายพิเศษ “การเพิ่มโอกาสในชีวิตด้วยหลักสูตรระยะสั้น” มีผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครูฯ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารโรงเรียน วิทยากร อาจารย์ ตัวแทนผู้ประกอบการ ตัวแทนชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

       ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการหลักสูตรหรือหลักสูตรระยะสั้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการชุมชนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและเรียนรู้จากชุมชนท้องถิ่น จำเป็นต้องมีการรวบรวมความคิดเห็นและเป็นความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ในการพัฒนาหลักสูตรและแหล่งเรียนรู้ จึงได้จัดกิจกรรม“เสวนาเชิงปฏิบัติการในการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและแหล่งเรียนรู้จากชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้นมา  โดยมีประเด็นในการแลกเปลี่ยน 8 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มกาแฟ /ขนมเบเกอร์รี่หรือของหวาน

2.กลุ่มข้าว /อาหารของคาว

3.กลุ่มผ้าพื้นเมือง

4.กลุ่มการท่องเที่ยว

5.กลุ่มการศึกษาปฐมวัย

6.กลุ่มการประถมศึกษา

7.กลุ่มการใช้เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรสมัยใหม่

8.กลุ่มการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

       ซึ่งจากต้นทุนการทำงานของมหาวิทยาลัยในการทำงานการศึกษาเชิงพื้นที่ทำให้ พบว่า กลไกที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชน คือ กลไกคนตำบล โดยให้ความสำคัญกับความต้องการจากมุมมองของประชาชนในพื้นที่จริงๆ มีการเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายในชุมชนและในตำบลได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเวทีการทำงานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และสามารถเปลี่ยนชุมชนให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคมต่อไป

แกลเลอรี่